วันที่ 9
มีนาคม 2016 บริษัทประกันภัย APA
ได้จัดพิธีเซ็นสัญญาแต่งตั้งให้บริษัท Deloitte & Touche Business Advisory(Deloitte) และบริษัท Mekong Group จากประเทศสิงคโปร์ เป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งกิจการประกันภัยและประกันชีวิต
โดยมีพล.ท.ไอ่ สุลิยะแสง ประธานกลุ่มบริษัทพงสะหวัน และ Dominic Goh เอกอัคราชทูตสิงคโปร์ ประจำ สปป.ลาว
เข้าร่วม
การเซ็นสัญญาจัดขึ้นที่โรงแรมลาวพลาซ่า
ผู้ร่วมเซ็นสัญญาประกอบด้วย แสงดาว
บุบพะกอนคำ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทประกันภัย APA , Chaly Mah CEO ของ Deloitte Southeast Asia และ Michael Aw CEO บริษัท Mekong Group
บริษัทประกันภัย APA
เป็นบริษัทใหม่ในกลุ่มบริษัทพงสะหวัน
ที่เพิ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต จากกระทรวงการเงิน
ถือเป็นบริษัทประกันของเอกชนลาวแห่งแรกใน
สปป.ลาว
กลุ่มพงสะหวัน |
Mekong
Group เป็นบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งมีฐานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์
เว็บไซต์ของ MekongGroup ไม่ได้บอกประวัติความเป็นมาของกิจการ บอกเพียงว่าธุรกิจของ
Mekong Group คือการเสนอบริการที่สามารถเพิ่มมูลค่าแก่กิจการ
ทั้งของเอกชนและรัฐบาลที่อยู่ในภูมิภาคอินโดจีน
บริการหลักๆของ Mekong Group
คือให้คำปรึกษาในการขยายกิจการออกนอกประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้เล่นระดับภูมิภาค
การสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถในสิงคโปร์ ส่งไปทำงานในกิจการของลูกค้าเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
และการจัดหาเทคโนโลยี่ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่กิจการ
เว็บไซต์ระบุถึงประวัติของ Michael
Aw CEO ของ Mekong
Group ว่าจบการศึกษาด้านวิศวกรรม
เคยทำงานกับบริษัทของอเมริกันมากว่า 21 ปี
ก่อนที่จะมาตั้งบริษัทที่ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศ
แต่ข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ในหมวดบริษัทในเครือ
ซึ่งเว็บไซต์ Mekong Group ระบุว่ามีอยู่ 8
แห่ง ได้แก่
1.บริษัทพงสะหวัน กรุ๊ป
2.ธนาคารพงสะหวัน
3.บริษัทลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์
มหาชน
4.บริษัทปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาว
มหาชน
5.Plus Daily Mart
6.ร้านกาแฟ Black
Canyon ใน สปป.ลาว
7.ร้านอาหาร
Morgen Restaurant
& Café ใน สปป.ลาว
8.บริษัทสิทธิโลจิสติกลาว มหาชน
ประเด็นก็คือ ทั้ง 8
บริษัท เป็นบริษัทในกลุ่มพงสะหวันทั้งหมด
รายละเอียดของแต่ละบริษัท
มีดังนี้
-บริษัทพงสะหวันกรุ๊ป เป็น Holding company หรือบริษัทหลักของกลุ่มพงสะหวัน ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.ออด พงสะหวัน ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานใหญ่
กลุ่มพงสะหวัน
ดร.ออด พงสะหวัน |
ในปี 1980
ได้ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจค้าไม้โดยได้สร้างโรงเลื่อยขึ้นหลายแห่ง
ผลิตไม้แปรรูปส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น ไทย ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ เวียดนาม
กัมพูชาฯลฯ ด้วยมูลค่าการส่งออกแต่ละปีหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี
1995 ขยายกิจการมาสู่ธุรกิจโทรคมนาคม โดยตั้งบริษัทพงสะหวันสะหนองอุปะกอนโทละคมในนครหลวงเวียงจัน
เป็นตัวแทนจำหน่ายวิทยุสื่อสาร Icom และโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อ Motorola, Philips, Panasonic
ระหว่างปี 1997-2001
ได้แตกแขนงธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยก่อตั้งบริษัทไพบูนการค้า
ขาออก-ขาเข้า จำกัดผู้เดียว
บริษัททองสะหวัน ขาออก-ขาเข้า
จำกัดผู้เดียว บริษัทพงสะหวันก่อสร้าง และโรงแรมพงสะหวัน
ภายใต้ชื่อกลุ่มบริษัทพงสะหวัน
-ธนาคารพงสะหวัน สถาบันการเงินที่ถือเป็นกิจการหลักของกลุ่มพงสะหวัน
ธนาคารพงสะหวันถือเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของ
สปป.ลาว ที่มีเอกชนลาวเป็นผู้ลงทุน 100% ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่ง
สปป.ลาว เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์
2007 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10 ล้านดอลลาร์ รวมกับเงินวางประกันไว้ที่ธนาคารแห่ง สปป.ลาว อีก 2.5
ล้านดอลลาร์
ธนาคารพงสะหวันเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที
29 มีนาคม 2007
และในปี 2008 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 19.99
ล้านดอลลาร์
เว็บไซต์ของธนาคารพงสะหวัน ระบุว่าบริษัทในเครือธนาคารมี 2 บริษัท
คือ บริษัทลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์ มหาชน และบริษัทปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาว มหาชน
-บริษัทลาวเซ็นทรัลแอร์ไลน์มหาชน ทำธุรกิจการบิน
เดิมชื่อพงสะหวันแอร์ไลน์ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2010
ถือเป็นสายการบินของเอกชนลาวแห่งแรก
เริ่มให้บริการด้วยเครื่องบิน Boeing 737-400 จำนวน 2 ลำในเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ
คือกรุงเทพ-เวียงจัน
ต่อมาได้มีการขยายเส้นทางบินไปยังจุดหมายต่างๆทั้งในและต่างประเทศ อาทิ ฮานอย
คุนหมิง เสียมเรียบ พนมเปญ โดยได้สั่งซื้อเครื่องบิน Sukhoi
SuperJet 100 เข้าประจำการเพิ่มจำนวน 9 ลำ เริ่มส่งมอบ 3 ลำแรกเมื่อปี 2012
-บริษัทปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาวมหาชน ทำธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในรูปแบบครบวงจรทั่ว สปป.ลาว ภายใต้เครื่องหมายการค้า Plus
ปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาว ก่อตั้งเมื่อวันที่
16 พฤศจิกายน 2007
ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 6.5 ล้านดอลลาร์
และได้เพิ่มทุนขึ้นเป็น 45.75 ล้านดอลลาร์ในภายหลัง มีจันทอน สิดทิไช
เป็นรองประธานกรรมการ และผู้อำนวยการใหญ่
ในปี 2011
ปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาวได้ขยับจากผู้ค้าน้ำมันอันดับที่
13 ของ สปป.ลาว ขึ้นเป็นอันดับที่ 2
ต้นปี 2015
ปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาว
ได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว เป็นบริษัทจดทะเบียนลำดับที่ 4
โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ APM
Lao บริษัทในเครือของบริษัทแอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จากประเทศไทย เป็นบริษัทที่ปรึกษาในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียน
ธุรกิจของบริษัทปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาว
มีทั้ง oil และ non-oil
โดยธุรกิจ non-oil
ประกอบด้วยร้านสะดวกซื้อ Plus
Daily Mart ซึ่งตั้งอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน
Plus แฟรนไชส์ร้านกาแฟ Black
Canyon และร้านอาหาร Morgen Restaurant & Café
จากประเทศไทย
-PlusDaily Mart เป็นร้านสะดวกซื้อที่ให้เปิดอยู่ในสถานีบริการน้ำมัน Plus บริหารงานโดยบริษัทลาวเดลีมาท
ขาออก-ขาเข้า
-ร้านกาแฟ Black Canyon บริษัทขวันใจการค้า ขาออก-ขาเข้า ซึ่งมีมีจันทอน สิดทิไช เป็นผู้อำนวยการใหญ่
และมะนีวอน สิดทิไช เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีการเงิน ได้ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์
Black Canyon จากบริษัทแบล็คแคนยอน(ประเทศไทย)
และเปิดสาขาแรกในนครหลวงเวียงจันที่ถนนสามแสนไทเมื่อเดือนพฤษภาคม 2012
-ร้านอาหาร Morgen Restaurant & Café มะนีวอน สิดทิไช
ได้ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านอาหารแห่งนี้มาจากบริษัท EZ'S International
Franchise ในเครือสยามสเต็ค กรุ๊ป และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2014
-บริษัทสิทธิโลจิสติกลาว
มหาชน เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทปิโตรเลียมเทรดดิ้งลาว
โดยให้บริการขนส่งน้ำมันไปยังสถานีบริการ Plus แต่ในปี 2013 ได้แยกตัวออกมาเป็นอีกบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างอิสระ แต่ยังคงเป็น 1 ในกลุ่มพงสะหวัน
ธุรกิจหลักของสิทธิโลจิสติกลาว คือบริการขนส่งสินค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยในปี 2015 สิทธิโลจิสติกลาวมีรถบรรทุกจำนวน 79 คัน และพนักงานรวม 95 คน และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของลาวให้นำหุ้นสามัญจำนวน 60
ล้านหุ้นออกมากระจายขายกับประชาชนทั่วไป(IPO) เพื่อเตรียมเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว
โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ APM
Lao เป็นที่ปรึกษา
กลุ่มพงสะหวันเป็นธุรกิจเอกชนที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของ
สปป.ลาว ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา กิจการในกลุ่มพงสะหวันมีการเติบโตอย่างหน้าสนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น