บ่อหานเป็นเมืองหน้าด่านของเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา
มณฑลหยุนหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นเมืองชายแดนของจีน
อยู่ตรงข้ามเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ภายใต้ข้อริเริ่ม One Belt One Road ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง บ่อหานถือได้ว่าเป็นประตูสำหรับเข้าสู่ใจกลางภาคพื้นทวีปของอาเซียน และเป็น 1 ในต้นทางเพื่อออกสู่ทะเลให้กับจีน
เพราะบ่อหานเป็นจุดเริ่มต้นของถนนสาย R3a และเป็นจุดเชื่อมต่อทางรถไฟจากจีนเข้าสู่ลาว ผ่านอุโมงค์มิตรภาพยาว 9.68 กิโลเมตร
เพราะบ่อหานเป็นจุดเริ่มต้นของถนนสาย R3a และเป็นจุดเชื่อมต่อทางรถไฟจากจีนเข้าสู่ลาว ผ่านอุโมงค์มิตรภาพยาว 9.68 กิโลเมตร
ด่านสากลบ่อหาน ที่เชื่อมต่อกับเมืองบ่อเต็น สปป.ลาว |
แม้อยู่ในเขตจีนแต่บ่อหานก็เป็นเมืองคนลื้อ
ที่ยังคงมีชาวลื้ออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม
ในระยะหลัง มีชาวจีนฮั่นจำนวนไม่น้อยที่อพยพลงมาตั้งหลักปักฐานอยู่ในเมืองนี้
จนทำให้สภาพเมืองดูไม่แตกต่างจากเมืองอื่นๆทั่วไปของจีน
ด้วยความที่เป็นเมืองชายแดนต้นทางของถนนสาย R3a ที่เป็นเส้นทางการค้าของจีนกับอาเซียน
บ่อหานจึงถูกจัดตั้งให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจ มีการสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานบริเวณพื้นที่ใกล้ชายแดน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจบ่อหาน |
เมื่อครั้งเดินทางผ่านและมีโอกาสแวะเขตพัฒนาเศรษฐกิจแห่งนี้เมื่อหลายปีก่อน(ปี 2011) พบว่าเลยจากชายแดนลาวเข้าไปในเขตจีนเพียง 2 กิโลเมตร ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
มีการจัดตลาดนัดสากล จีน-ลาว-ไทย
ขึ้น
โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2010
ตลาดนัดสากล 3 ประเทศ(จีน ลาว และไทย) |
ด้วยความที่ชาวลื้อ
ชาวลาว และชาวไทย มีความใกล้ชิดกันทางเชื้อชาติ
ทำให้ในช่วงที่เริ่มเปิดตลาดนัดแห่งนี้ใหม่ๆ
มีพ่อค้าแม่ขายให้ความสนใจมาออกร้านกันอย่างคึกคัก
และเมื่อมีโอกาสได้เข้าไปในอาคารสำนักที่ว่าการเมืองบ่อหาน
พบว่าแม้วัฒนธรรมจีนได้แผ่อิทธิพลลงมาครอบงำวิถีชีวิตของคนที่นี่ไปแล้วไม่น้อย
แต่ก็ยังมีสิ่งที่เตือนให้ระลึกถึงวิถีของชุมชนเมื่อครั้งอดีตปรากฏอยู่
ภาพเขียนด้านล่างนี้ประดับอยู่บนผนังห้องประชุมฝ่ายปกครอง เมืองบ่อหาน
เจ้าหน้าที่ของเมืองบอกว่าเป็นภาพที่แสดงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนที่นี่ ที่เป็นชุมชนของคนเผ่าพันธุ์ไท ซึ่งมีวิถีชีวิตผูกพันธ์อยู่กับสายน้ำ
เจ้าหน้าที่ของเมืองบอกว่าเป็นภาพที่แสดงถึงวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนที่นี่ ที่เป็นชุมชนของคนเผ่าพันธุ์ไท ซึ่งมีวิถีชีวิตผูกพันธ์อยู่กับสายน้ำ
ภาพนี้มีชื่อเป็นภาษาจีนที่แปลเป็นไทยได้ว่า…“แม่ของแผ่นดิน”
ภาพ“แม่ของแผ่นดิน”ประดับอยู่บนผนังห้องประชุมเมืองบ่อหาน(ถ่ายไว้เมื่อเดือนเมษายน 2011) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น